About Us

ประวัติความเป็นมา

จากนโยบายสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี รวมถึงอธิการบดีและทีมผู้บริหารได้วางวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ภายในปี 2570 เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านอาหาร การท่องเที่ยว และวิทยาการสุขภาพ ภายใต้ความเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ด้วยการบูรณาการศาสตร์ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 แผนการศึกษาแห่งชาติระยะ 20 ปี แผนอุดทศึกษาระยะยาว 20 ปี ในเรื่องของการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การสร้างความสามารถในการแข่งขัน การสร้างโอกาสและความสามารถทางการศึกษาการพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการเสริมสร้างความรู้และทักษะทางอาชีพประกอบกับต้นทุนศักยภาพเชิงพื้นที่ของกลุ่มจังหวัดและจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ในการสร้างการสร้างต้นทุนทางทรัพยากรเพื่อการลงทุนและสร้างความเชื่อมโยงของการท่องเที่ยวและพื้นที่เศรษฐกิจ และเมืองน่าอยู่ น่ากิน น่าเที่ยว สู่เมืองสร้างสรรค์ระดับสากลอย่างยั่งยืน และการที่จังหวัดเพชรบุรีได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของ UNESCO (Creative City of Gastronomy: UNESCO) โดยที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีถือเป็นแหล่งที่รวบรวมองค์ความรู้ วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม โดยมีพันธกิจหลักในการผลิตและพัฒนากำลังคน เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยการส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ คู่คุณธรรม ให้มีอัตลักษณ์และสมรรถนะใน ศตวรรษที่21 และเพิ่มโอกาสทางการศึกษาทุกช่วงวัย

           จากที่กล่าวมา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จึงมีการจัดตั้งวิทยาลัยนวัตกรรมอาหารและอุตสาหกรรมบริการ (PBRU College of Food and Hospitality Innovation)  เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนเฉพาะทางด้านอาหาร การท่องเที่ยว การบริการและเกษตร มูลค่าสูงให้มีประสิทธิภาพพร้อมต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย S – Curve และกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย New S – Curve โดยมุ่งหวังให้การพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ด้านการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน (การเกษตรสร้างมูลค่า อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต สร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ที่ว่าด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นเศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 – 2579) ที่เน้นผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัยและนวัตกรรม พัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

                กลไกการขับเคลื่อนการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ด้วยการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน โดยนำจุดแข็งของมหาวิทยาลัยและอัตลักษณ์เชิงพื้นที่อันประกอบด้วย “ความหลากหลายทางชีวภาพ” และ “ความหลากหลายทางวัฒนธรรม” มาต่อยอดและยกระดับมูลค่าในห่วงโซ่การผลิตสินค้าและบริการครอบคลุม 4 สาขา  ยุทธศาสตร์สำคัญที่ตอบโจทย์กลุ่มอุตสาหกรรม S – Curve ประกอบไปด้วย 1) เกษตร 2) อาหาร3) การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ 4) วิทยาการสุขภาพ และกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ New S – Curve อุตสาหกรรมดิจิตทัล (Digital)

        วิทยาลัยนวัตกรรมอาหารและอุตสาหกรรมบริการจึงคิดและผลิตหลักสูตรที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศตามแผนดังกล่าว ด้วยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมีการจัดการเรียนการสอนอยู่แล้วนำมาบูรณาการให้เกิดเป็นหลักสูตรใหม่ที่ตรงต่อความต้องการของผู้เรียน ตามความต้องการของตลาดแรงงานปัจจุบันและอนาคต

              จากเป้าหมายของการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยที่กำหนดไว้นั้น เป้าหมายที่มหาวิทยาลัยต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อการพลิกโฉมอย่างแท้จริงคือ เป้าหมายที่ 1“การพัฒนาให้เป็นมหาวิทยาลัยชี้นำสังคม โดยมุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านอาหาร การท่องเที่ยวและวิทยาการสุขภาพด้วยการบูรณาการศาสตร์” ดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีจึงมุ่งเน้นการพัฒนากำลังคน เพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศด้วยอาชีพเฉพาะตามความต้องการบุคลากรใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย S – Curve โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรม ในด้านการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวสุขภาพ และด้านการแปรรูปอาหาร โดยอาศัยการพัฒนาอย่างเร่งด่วนด้วยระบบนิเวศการบริหารจัดการ(eco – system) ที่เป็นทุนเดิมให้สามารถขับเคลื่อนการผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการอาหาร การท่องเที่ยวและวิทยาการสุขภาพ